หลังจากที่ได้ประกาศถึงการ Rebranding บริษัทไปแล้วก่อนหน้านี้ ในเวลานี้ Facebook เปิดเผยชื่อใหม่อย่างเป็นทางการ โดยใช้ชื่อว่า Meta เมื่อคืนวานนี้ (28 ต.ค. 2564) – ภายในงานสัมมนา Connect 2021, Facebook ได้ทำการประกาศเปิดตัวชื่อบริษัทใหม่ โดยใช้ชื่อว่า Meta (เมต้า) ที่ซึ่งมาจาก “Metaverse” – เป้าหมายสำคัญนับจากนี้ของ Facebook และบริษัทในเครือทั้งหมด
โดยเป้าหมายสำคัญของเมต้านั้นก็คือการนำเอา “Metaverse”
แนวคิดว่าด้วยการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบนโลกออนไลน์ที่สามารถให้ความรู้สึกถึงมีอยู่ร่วมกันได้ แม้จะอยู่คนละที่กัน แต่ก็สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันได้ (นึกภาพ Ready Player One และ The Matrix) มาสู่โลกและชีวิตประจำวันของเรา หรือก็คือ โลกเสมือนจริง
Mark Zuckerberg, ผู้ก่อตั้ง/CEO ของ Facebook ได้กล่าวไว้ว่า การสร้าง Metaverse นั้น จะไม่ใช่ภารกิจที่สร้างโดยบริษัทเพียงบริษัทเดียวหากแต่เป็นการร่วมมือกันระหว่างผู้สร้างสรรค์เนื้อหา และผู้พัฒนาเทคโนโลยี ที่ตัวเขาหวังว่าจะเป็นแรงผลักดันให้มีการเร่งการพัฒนาของเทคโนโลยี, แพลตฟอร์มทางสังคม และเครื่องมืออื่น ๆ ในแนวทางนี้
Zuckerberg ยังได้กล่าวอีกว่า “นับตั้งแต่บัดนี้ พวกเราจะให้ความสำคัญกับ Metaverse เป็นอันดับแรก ไม่ใช่ Facebook เป็นอันดับแรกอีกต่อไป”
ซึ่งภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทแล้วนั้น Facebook เองได้ออกมาให้ชี้แจงว่าแอปพลิเคชัน/แพลตฟอร์มสังคมต่าง ๆ ที่ดำเนินการอยู่ในเวลานี้อย่าง Facebook, Instagram, Messenger และ WhatsApp นั้น จะไม่มีการเปลี่ยนชื่อตามแต่อย่างใด โดยจะเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับที่ Google เปลี่ยนชื่อมาเป็น Alphabet Inc. เมื่อปี 2015 และพลันตัวชื่อเก่าให้เป็นบริษัทย่อยภายใต้แทน
ทั้งนี้แล้วก็มีหลายฝ่าย-หลายคนที่ตั้งข้อสังเกตว่า การเปลี่ยนชื่อและภาพลักษณ์ใหม่ของ Facebook นั้น อาจจะถือว่าไม่ใช่แค่การตั้งต้นเพื่อบรรลุเป้าหมายใหม่เท่านั้น แต่ยังคงเป็นการเบี่ยงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเวลานี้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเผยข้อมูลถึงการละเลยควบคุมความขัดแย้งบนแพลตฟอร์ม, ปัญหาการเก็บข้อมูลผู้ใช้ และนำไปใช้เพื่อหวังผลทางธุรกิจ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีประเด็นข่าวด้านลบออกมาก่อนหน้านี้ แต่ด้วยวิสัยทัศน์และแผนพัฒนาของ Mark ซึ่งเชื่อว่าไม่น่าจะทำเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการปิดข่าวฉาวเพียงอย่างเดียว เพราะการจะรีแบรนด์นั้นจำเป็นที่จะต้องวางแผนระยะยาว และคิดล่วงหน้าหลายขั้นตอนกันเลยทีเดียว อย่างที่นักวิเคราะห์หลายคนกล่าวว่า “การรีแบรนด์ไม่ได้ช่วยกลบเรื่องฉาวภายในหากไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง”
ส่วนเราในฐานะส่วนหนึ่งนับล้านท่ามกลางกระแสข้อมูลมหาศาล ก็ต้องมารอดูว่า โลกโซเชียลในอุดมคติของ Mark จะออกมาได้อย่างที่เขาวางแผนไว้หรือไม่
ในการนี้ บริษัท กราวิตี้ เกม เทค จำกัด (Gravity Game Tech, GGT) ได้เลือกนักแสดงและนางแบบอดีตสมาชิกวงเกิร์ลกรุ๊ปชื่อดังของเมืองไทยอย่าง ‘โบว์ เมลดา’ ขึ้นมาเป็นพรีเซนเตอร์อย่างเป็นทางการของเกม Ragnarok Classic ด้วยภาพลักษณ์ที่ดูน่ารักและเป็นมิตรของ ‘โบว์ เมลดา’ จึงได้รับความสนใจจากผู้เล่นไทยเป็นอย่างมาก
เยาวชนไทยเจ๋ง! คว้าแชมป์เอเชียแข่งเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ NASA
อินเดนเทชัน เออเร่อ เยาวชนไทยจาก รร.อัสสัมชัญธนบุรี คว้ารางวัลชนะเลิศระดับเอเชีย การแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ของ NASA เยาวชนตัวแทนประเทศไทย ‘ทีมอินเดนเทชัน เออเร่อ’จากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศระดับเอเชีย เอาชนะเยาวชนคู่แข่งจาก 8 ประเทศ โดยสามารถทำคะแนนเป็นอันดับ 1 จากการแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ของ NASA บนสถานีอวกาศนานาชาติ ในโครงการคิโบะ โรบอต โปรแกรมมิ่ง ชาเลนจ์ ครั้งที่ 2
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ได้สนับสนุนเยาวชนทีมอินเดนเทชัน เออเร่อ (Indentation Error) จากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
สมาชิกในทีม 3 คน ประกอบด้วย นายธฤต วิทย์วรสกุล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (หัวหน้าทีม) นายกรปภพ สิทธิฤทธิ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และเด็กชายเสฎฐพันธ์ เหล่าอารีย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นทีมชนะเลิศจากการแข่งขัน โครงการ The 2nd Kibo Robot Programming Challenge รอบชิงแชมป์ประเทศไทย เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงแชมป์เอเชียผ่านทางออนไลน์
โดยในวันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม 2564 เวลา 11.00 น. ที่ผ่านมา องค์กรสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ JAXA ได้จัดการแข่งขันโครงการ The 2nd Kibo Robot Programming Challenge รอบชิงแชมป์เอเชียทางออนไลน์
ถ่ายทอดสดจากศูนย์อวกาศสึกุบะ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีนักบินอวกาศญี่ปุ่นทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขันอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อค้นหาสุดยอดทีมเยาวชนจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่ทำคะแนนได้สูงที่สุดในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ให้ปฏิบัติภารกิจซ่อมแซมสถานีอวกาศ โดยมีตัวแทนเยาวชนจาก 9 ประเทศ เข้าร่วมการแข่งขัน ได้แก่ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย บังคลาเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และไทย
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป